มาตรฐาน IEEE
IEEE
คือ
สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ชื่อเต็มคือ Institute
of Electrical and Electronic Engineers ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1963
ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการรวมตัวของวิศวกรไฟฟ้าและวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งดำเนินกิจกรรมร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้ากำลัง
และระบบแสง
สถาบัน
IEEE
เป็นสถาบันที่กำกับ
ดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้
โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบวัดคุม
โดยนักวิจัยเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก
และจะแบ่งกลุ่มศึกษาตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล กลุ่มหมายเลข IEEE ที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรควบคุมมาตรฐาน
IEEE
802.1
การบริหารจัดการระบบเครือข่าย
IEEE
802.2
ถูกออกแบบใน LLC
ไม่ต้องการให้เครื่องรู้จักกับ
MAC
sub layer กับ
physical
layer
IEEE
802.3
สำหรับเป็น โปรโตคอลมาตรฐานเครือข่าย
Ethernet
ที่มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูล
10
Mbps
IEEE
802.4
มาตรฐาน IEEE
802.4
เป็นมาตรฐานกำหนดโปรโตคอลสำหรับเลเยอร์ชั้น MAC
IEEE
802.5
เครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบ Ring
•การปฏิบัติงานใด
ๆ ให้ประสบความสำเร็จซ้ำ ๆ (repeatable)
ควรจะยึดตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
•หากปล่อยให้ปฏิบัติงานไปตามความพอใจ ผลงานแต่ละครั้งอาจจะไม่เหมือนเดิม และอาจจะไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบอื่น ๆ ได้
•การสร้างระบบแบบ
Interoperability ต้องใช้มาตรฐาน
IT สำคัญหลายอย่าง ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น HTML
ในเว็บ
IEEE
802.6
กำหนดมาตรฐานของ MAN
ซึ่งข้อมูลในระบบเครือข่ายถูกออกแบบมาให้ใช้งานในระดับเขต
และเมือง
IEEE
802.7
ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบ Broadband
IEEE
802.8
ใช้ให้คำปรึกษากับกลุ่มเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้วนำแสง
IEEE
802.9
ใช้กำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับ
IEEE
802.10
ใช้กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
IEEE
(Institute of Electrical and Electronic Engineer) ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ได้กำหนดมาตรฐานเครือข่ายไร้สาย โดยใช้การกำหนดตัวเลข 802.11
แล้วตามด้วยตัวอักษร เช่น 802.11b,
802.11a,
802.11g และ
802.11n
ข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน
IEEE
802.11a ก็คือ
การที่มาตรฐานนี้ ใช้การเชื่อมต่อที่ความถี่สูงๆ ทำให้มาตรฐานนี้
มีระยะการรับส่งที่ค่อนข้างใกล้ คือ ประมาณ 35 เมตร ในโครงสร้างปิด (เช่น ในตึก
ในอาคาร) และ 120
เมตรในที่โล่ง เนื่องด้วยอุปกรณ์ไร้สายที่รองรับเทคโนโลยี IEEE
802.11a มีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง
ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อยและยังไม่สามารถเข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน
IEEE
802.11b และ
IEEE
802.11g อีกด้วย
IEEE
802.11b
เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน
IEEE
802.11a เมื่อปี
พ.ศ. 2542
มาตรฐาน IEEE
802.11b ได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายมาก ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า
CCK
(Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS
(Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่
11
เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4
กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้งานในแบบสาธารณะ
ทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์
โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีหลายชนิด
ข้อดีของ
IEEE
802.11b
ข้อดีของมาตรฐาน
IEEE
802.11b ก็คือ
การใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE
802.11a ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานนี้จะมีความสามารถในการส่งคลื่นสัญญาณไปได้ไกลกว่าคือประมาณ
38
เมตรในโครงสร้างปิดและ 140
เมตรในที่โล่งแจ้ง รวมถึง
สัญญาณสามารถทะลุทะลวงโครงสร้างตึกได้มากกว่าอุปกรณ์ที่รองรับกับมาตรฐาน IEEE
802.11a ด้วยผลิตภัณฑ์มาตรฐาน
IEEE
802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า
Wi-Fi
IEEE
802.11e
เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งาน
แอพพลิเคชันทางด้านมัลติมีเดียอย่าง
VoIP
(Voice over IP) เพื่อควบคุมและรับประกันคุณภาพของการ
ใช้งานตามหลักการ QoS
(Quality of Service) โดยการปรับปรุง
MAC
Layer ให้มีคุณสมบัติในการรับรองการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ
IEEE
802.11f
มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม
IAPP
(Inter Access Point Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขต
การให้บริการของ Access
Point ตัวหนึ่งไปยัง
Access
Point อีกตัวหนึ่งเพื่อให้บริการในแบบ
โรมมิงสัญญาณระหว่างกัน
มาตรฐาน
IEEE
802.11g
มาตรฐาน
IEEE
802.11g เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน
IEEE
802.11b โดยยังคงใช้คลื่นความถี่
2.4
GHz แต่มีความเร็วในการรับ
- ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54 Mbps หรือเท่ากับมาตรฐาน
802.11a
โดยใช้เทคโนโลยี
OFDM
บนคลื่นวิทยุ
และมีรัศมีการทำงานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน
IEEE
802.11b ได้
(Backward-Compatible) เพียงแต่ว่าความถี่ 2.4
GHz ยังคงเป็นคลื่นความถี่สาธารณะอยู่เหมือนเดิม
ดังนั้นจึงยังมีปัญหาเรื่องของสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันอยู่ดี
IEEE
802.11h
มาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่
5
กิกะเฮิรตซ์ ให้ทำงานถูกต้องตามข้อกำหนดการใช้ความถี่ของประเทศ ในทวีปยุโรป
IEEE
802.11i
เป็นมาตรฐานในด้านการรักษาความปลอดภัย
ของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สาย โดยการปรับปรุง MAC Layer เนื่องจากระบบเครือข่ายไร้สายมีช่องโหว่มากมายในการใช้งาน
โดยเฉพาะฟังก์ชันการเข้ารหัสแบบ WEP 64/128-bit ซึ่ง
ใช้คีย์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับสภาพการใช้งานที่ต้องการ
ความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของการสื่อสารระดับสูง มาตรฐาน IEEE
802.11i จึงกำหนดเทคนิคการเข้ารหัสที่ใช้คีย์ชั่วคราวด้วย
WPA,
WPA2
และการเข้ารหัสในแบบ AES
(Advanced Encryption Standard) ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูง
IEEE
802.11k
เป็น
มาตรฐานที่ใช้จัดการการทำงานของระบบ เครือข่ายไร้สาย
ทั้งจัดการการใช้งานคลื่นวิทยุให้มีประสิทธิภาพ มีฟังก์ชันการเลือกช่องสัญญาณ
การโรมมิงและการควบคุมกำลังส่ง
นอกจากนั้นก็ยังมีการร้องขอและปรับแต่งค่าให้เหมาะสมกับการทำงาน
การหารัศมีการใช้งานสำหรับเครื่องไคลเอนต์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ระบบ
จัดการสามารถทำงานจากศูนย์กลางได้
IEEE
802.1x
เป็นมาตรฐานที่ใช้งานกับระบบรักษาความปลอดภัย
ซึ่งก่อนเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายจะต้องตรวจสอบสิทธิ์ในการใช้งานก่อน โดย IEEE
802.1x จะใช้โพรโตคอลอย่าง
LEAP,
PEAP, EAP-TLS, EAP-FAST ซึ่งรองรับการตรวจสอบผ่านเซิร์ฟเวอร์
เช่น RADIUS,
Kerberos เป็นต้น
มาตรฐาน
IEEE
802.11N
มาตรฐาน
IEEE
802.11N (มาตรฐานล่าสุด)
เป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายที่คาดหมายกันว่า จะเข้ามาแทนที่มาตรฐาน IEEE
802.11a, IEEE 802.11b และ
IEEE
802.11g ซึ่งมาตรฐาน
802.11N
มาตรฐาน
IEEE
802.11N
โดยจะมีความเร็วอยู่ที่
300
Mbps หรือเร็วกว่าแลนแบบมีสายที่มาตรฐาน
100
BASE-TX นอกจากนี้ยังมีระยะพื้นที่ให้บริการกว้างขึ้น
โดยเทคโนโลยีที่ 802.11N
นำมาใช้ก็คือเทคโนโลยี
MIMO
ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลจากเสาสัญญาณหลายๆ
ต้น พร้อมๆ กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงมากขึ้น และยังใช้คลื่นความถี่แบบ Dual
Band คือ
ทำงานบนย่านความถี่ทั้ง 2.4
GHz และ
5
GHz
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น